Spiral of Silence Theory






ทฤษฎี Spiral of Silence หรือ แปลเป็นไทยได้ว่า "วงเกลียวแห่งความเงียบ" เป็นทฤษฎีโดย อลิซาเบธ โนเอล นอยมานน์ ผู้ที่เชื่อว่าความกดดันจากสังคมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั้นจะทำให้คนที่มีความเห็นตรงกันข้ามจะไม่กล้าแสดงออก เนื่องจากเชื่อว่าตนเองเป็นเสียงส่วนน้อย และ กลัวจะแปลกแตกแยกออกจากสังคม เพราะอย่าลืมว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (herd animal) อีกทั้งนี่คือสิ่งสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับ มติสาธารณะ (Public Opinion) เช่นปรากฏการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐ กับ อิรัก และเมื่อมีการตัดสินใจว่าจะต้องบุกเข้ายึดครองอิรัก ในระยะแรกมีการเผยแพร่ข่าวออกไปยังหมู่สาธารณชน โดยมีความคิด 2 กระแส คือกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยในการที่สหรัฐในการบุกยึดครอง อิรักว่าเป็นการละเมิดสิทธิต่างๆและคัดค้าน  แต่เมื่อสื่อมวลชนได้นำเสนอถึงข่าวถึงการครอบครองอาวุธชีวภาพ และ อาวุธนิวเคลียส์ของผู้นำ อิรัก จึงทำให้กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยค่อยๆถอยร่นและเงียบลงไป และในขณะกลุ่มที่เห็นด้วย ได้หยิบยกความชอบธรรมที่สื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆมาพูดให้มีความเสียงดังขึ้น จึงทำให้ความคิดเห็นนี้กลายเป็นความคิดเห็นของคนกลุ่มใหญ่ และทำกลุ่มที่คัดค้านนั้นเงียบลงไป

         นิวมันน์ (Neumann, 1974,1984,1991, อ้างถึงใน ผกาพรรณ หะรังษี, 2549, .21) ซึ่งทำงานเกี่ยวกับเรื่องประชามติ ได้พัฒนาแนวคิดวงเกลียวแห่งความเงียบ (Spiral of Silence) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีต้นกำเนิดจากทฤษฎีสาธารณมติ (Theory of Public Opinion) ประเด็นสำคัญของแนวคิดนี้กล่าวถึงการมีบทบาทซึ่งกันและกันระหว่าง 4 องค์ประกอบ 

         1.สื่อมวลชน (Mass Media)
         2.การสื่อสารระหว่างบุคคลและความสัมพันธ์ทางสังคม (Interpersonal Communication and Social Relation)
         3.การแสดงความคิดเห็นของบุคคล (Individual Expressions of Opinion) 
         4.การรับรู้ของบุคคลต่อบรรยากาศสาธารณมติ (The Perceptions Which individuals have of the surrounding )


โดยแนวคิดวงเกลียวแห่งความเงียบมีข้อสันนิษฐานเบื้องต้น ดังนี้

         1.สังคมจะแสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อบุคคลที่มีความคิดเห็นเบี่ยงเบนหรือแตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ด้วยการโดดเดี่ยว (Isolation) ไม่คบหาบุคคลนั้น
         2.ความกลัวถูกโดดเดี่ยวของบุคคลจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
         3.ความกลัวถูกโดดเดี่ยวนี้เองที่ส่งผลให้บุคคลพยายามที่จะประเมินสาธารณมติหรือความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ในสังคมอยู่ตลอดเวลา
         4.ผลลัพธ์ของการประเมินดังกล่าวมีผลต่อท่าทีที่บุคคลแสดงออกในที่สาธารณะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครื่องของความสมัครใจในการแสดงความคิดเห็น หรือการไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยในกรณีที่มีความคิดเห็นเบี่ยงเบนไปจากทรรศนะของคนส่วนใหญ่ในสังคม 

         บุคคลมักจะกล้าแสดงความคิดเห็นของตนก็ต่อเมื่อความคิดเห็นดังกล่าวสอดคล้องไปกับสาธารณมติหรือเสียงส่วนใหญ่ในสังคมในทางตรงกันข้ามบุคคลที่มีแนวโน้มที่จะปิดบังหรือไม่แสดงตัวในกรณีที่มีความคิดเห็นของตนแตกต่างจากเสียงส่วนใหญ่ในสังคม บุคคลนั้นจึงตกอยู่ในปรากฏการณ์วงเกลียวแห่งความเงียบ แต่ไม่แสดงเสียงที่แท้จริงของตนเองออกมา หรืออาจใช้วิธีกลบเกลื่อนด้วยการแสดงตนว่าเป็นเสียงส่วนใหญ่ จวบจนกระทั่งถึงโอกาสที่ต้นเองสามารถแสดงความคิดเห็นส่วนตัวได้อย่างปลอดภัย เช่น บนโลกสื่อสังคมออนไลน์ 



Comments

Popular posts from this blog

ทฤษฎีภาวะผู้นำ ​Leadership Theory

Information Overload (คนไทยกับสภาวะ ข้อมูลที่ท่วมท้น)

สื่อ กับการสื่อสารอัตลักษณ์ Communication and Identity