Information Overload (คนไทยกับสภาวะ ข้อมูลที่ท่วมท้น)
การแสวงหาความรู้ นั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์
เมื่อมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดๆแล้วก็จะสามารถที่อธิบาย
ถึงปรากฏการณ์หรือเรื่องราวต่างๆที่ได้รับรู้
การแสวงหาความรู้ของมนุษย์นั้นจะต้องอาศัยการฝึกฝนทั้งการอ่านและกระบวนการคิด
วิเคราะห์ แยกแยะ ในอดีตนั้นมนุษย์จะต้องใช้เวลาในการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อตอบสนองความรู้
โดยผ่านการเรียนรู้ ทั้งการอ่าน และการปฏิบัติเพื่อตอบสนองความหยั่งรู้ โดยใช้เวลากับการหาข้อมูลหรือการทดลอง
เพื่อตอบสนองความรู้
ในปัจจุบันการใช้เวลาในการแสวงหาความรู้ข้อมูลต่าง
ๆ เป็นไปอย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น จนเรียกได้ว่าตอบสนองความต้องการที่จะรู้อย่างทันท่วงที
โดยผ่านการค้นหาข้อมูลทางโครงข่ายข้อมูล อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างสูงในปัจจุบัน
ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นสามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ได้อย่างทันท่วงที เพียงต้องการอยากที่จะทำความเข้าใจหรือต้องการรู้เรื่องราวใด
ๆ ก็หาคำตอบได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
เมื่อการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วก็จะพบถึงข้อมูลที่หลากหลายเช่นกัน
ซึ่งข้อมูลที่เราสามารถค้นพบในโครงข่ายข้อมูลอินเตอร์เน็ตนั้นมันช่างมีมากมายให้เราได้
เลือกศึกษา ทั้งเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง หรือเรื่องราวที่มีความหมายที่เชื่อมโยงกัน
ถูกรวบรวมมาให้เราอย่างมากมาย นี่คือแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่ล้วนถูกรวบรวมขึ้นเพื่อตอบสนองของมนุษย์แต่เหนือสิ่งอื่นใดนั้นเราเคยสงสัยหรือไม่ว่าข้อมูลที่มีอย่างมากมายเหล่านั้นมีความถูกต้องครบถ้วนหรือไม่และข้อมูลเหล่านี้มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
เมื่อมีข้อมูลมากมายได้มาอยู่รวมกัน เมื่อมนุษย์เปิดรับข้อมูลที่มีอยู่จนมากเกินไปจึงเกิดสภาวะในการสับสนของข้อมูลที่ได้รับมา
และก่อให้เกิดความบิดเบี้ยวของข้อมูลก็เป็นได้
สภาวะเหล่านี้เรียกกันว่า
“สภาวะข้อมูลท่วมท้น” (Information Overload) หมายถึง ภาวะที่บุคคลประสบความยุ่งยากในการเข้าใจประเด็นและตัดสินใจ อันเนื่องมาจากมีข้อมูลมากเกินไป
ซึ่ง “สภาวะข้อมูลท่วมท้น” นี้ได้รับความนิยม
เพราะ อัลวิน ทอฟเลอร์ ใช้ในหนังสือขายดีของตน
ชื่อ Future Shock (ค.ศ. 1970) และ เบอร์แทรม กรอส ก็ใช้ในหนังสือของตนชื่อ The Managing of Organizations (ค.ศ. 1964) ทอฟเลอร์ อธิบายศัพท์นี้
โดยเปรียบเทียบว่า ภาวะข้อมูลท่วมท้นคือการได้รับรู้ความรู้สึกมากเกินไป
(sensory overload) ในยุคข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้
การรับรู้ความรู้สึกมากเกินไปเป็นศัพท์ที่เริ่มใช้ในทศวรรษ 1950 และถูกมองว่าเป็นสาเหตุของการไม่มีสมาธิและขาดการตอบสนอง ทอฟเลอร์นิยามภาวะข้อมูลท่วมท้นว่ามีผลกระทบลักษณะเดียวกัน
แต่เกิดกับการทำงานทางการรับรู้ในระดับที่สูงกว่า เขาเขียนว่า "เมื่อปัจเจกบุคคลตกอยู่ในภาวะที่สถานการณ์เปลี่ยนอย่างรวดเร็วและอย่างผิดปรกติ
หรืออยู่ในบริบทที่ไม่เคยพบประสบมาก่อน บุคคลนั้นจะมีความแม่นยำในการคาดการณ์ลดลง เขาจะไม่สามารถประเมินอย่างถูกต้องได้อีกต่อไปว่าพฤติกรรมที่มีเหตุผลแบบไหนที่เชื่อใจได้"
(อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล,2556,บทบรรณาธิการ) ได้ยกบทความของ แวนเนอวาร์ บุช
(Vannevar Bush) นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจากเอ็มไอที ได้ตีพิมพ์บทความที่ชื่อว่า
“As We May Think” ในปี 1945 ที่แสดงวิสัยทัศน์ของเขาและการทำนายเกี่ยวกับโลกยุคดิจิทัลโดยได้อธิบายถึงปัญหาของข่าวสารที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็นความมากเกินไป
ก่อนที่จะสรุปใจความสำคัญที่มุ่งสู่คำถามว่าแล้วสมองคนเราทำงานอย่างไรเมื่อถึงภาวะเช่นนั้น
คำตอบก็คือ จิตใจและสมองมนุษย์ไม่ได้ทำงานแบบเส้นตรง แต่เป็นการทำงานแบบร่วมมือเพราะเมื่อเราเริ่มต้นคิดถึงเป้าหมาย
มนุษย์จะปะติดปะต่อเรื่องราวจากสิ่งแวดล้อมโดยรวมทุกสิ่งที่เคยจดจำหรือมีความรู้มา
นั่นหมายถึงสมองมีรูปแบบการทำงานแบบเครือข่าย บุชจึงเสนอวิธีจัดการกับความรู้และข้อมูลข่าวสารที่จะหลั่งไหลและท่วมท้นในอนาคต
ด้วยการชี้ให้เห็นถึงกระบวนการสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเครือข่ายและวิธีการที่จะทำให้เทคโนโลยีสามารถทำงานร่วมกับสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และความคิดในการรวบรวมข้อมูลนี่เองที่เป็นหัวใจให้เบอร์เนอร์ส-ลี นำไปสู่การสร้างเวิลด์ ไวด์ เว็ป โดยเขากล่าวว่า “มันเริ่มจากสิ่งแรกคือการค้นหาความสอดคล้อง จากนั้น สร้างและออกแบบเว็ปที่เรียกว่าไฮเปอร์ลิงก์เพื่อจะหารูปแบบความสามารถในการเชื่อมโยงข่าวสารชิ้นเดียวเข้ากับข่าวสารชิ้นอื่นๆ
สภาวะข้อมูลข่าวสารที่ท่วมท้นได้เกิดขึ้นจริงและต่างกำลังปีนป่ายเพื่อแย่งชิงพื้นที่ทางสายตา
บทสนทนา และความคิดของผู้คน ในสภาพเช่นนี้เราจะเสาะหาเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดอย่างไร
และในทางกลับกัน เราจะบอกเล่าจุดประสงค์หรือสื่อสารต่อกลุ่มคนที่เราคาดหวังได้เช่นไร
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อทั้งโลกสามารถเชื่อมต่อถึงกันทั้งทางกายภาพและทางออนไลน์อย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร
รูปแบบขอผู้คนที่ไม่เคยพบปะพูดคุยหรือ ภาษาที่ไม่คุ้นหู กระทั้งค่านิยมที่ไม่คุ้นเคย
จะยิ่งทำให้ปฏิสัมพันธ์ของสังคมดำเนินไปอย่างสับสนหรือไม่
เมื่อนำทฤษฏีการสื่อสาร SMCR ของ เดวิท เบอร์โล นำมาศึกษาสภาวะข้อมูลที่ท่วมท้น จะพบกว่าปัญหาของการรับข้อมูลที่ท่วมท้น
(Information overload) นั้นอยู่ที่ การเปิดรับสารของ ผู้รับสาร
(Receiver) เมื่อผู้เปิดรับสารนั้นเปิดรับข้อมูลที่มาจาก ช่องทางการสื่อสาร
(Channel) ต่างๆที่มีอยู่อย่างมากเกินไป ทำให้ข้อมูลอันมากมายมหาศาลที่เรียกว่า
Big Data นั้นหลั่งไหลเข้ามาในความคิด และเมื่อผู้รับสารมีข้อมูลมากจนเกินไป
จึงทำให้เกิดความยากลำบากต่อการตัดสินใจ เชื่อในข้อมูลนั้นๆ จึงทำให้จะต้องมีปัจจัยอื่นในการตัดสินใจในข้อมูลนั้นๆเช่นความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร
แน่นอนการรับ ข้อมูลที่มีปริมาณมาก (Big Data) นั้นทำให้ผู้รับสารเกิดผลกระทบ
(Effect) ที่ยากจะตัดสินใจในการเชื่อถือข้อมูลนั้นๆ จึงทำให้เป็นผลที่จะต้องมี
“ผู้นำทางความคิด” (Opinion Leader) ที่ช่วยในการตัดสินใจเพื่อตอบสนองความเชื่อนั้นๆ
ของผู้รับสาร
เช่นดั่งข้อมูลด้านสุขภาพ ของแพทย์ที่มีอยู่มากมายบนสื่อออนไลน์ ที่กล่าวถึงการป่วยจากโรคที่เกิดจากความอ้วน
ซึ่งแพทย์แต่ละท่านนั้นได้มีข้อแนะนำที่แตกต่างกันในการแก้ไขปัญหาอาการป่วยจากโรคอ้วน
ซึ่งทำให้เกิดข้อมูลขนาดใหญ่และหลากหลายกับผู้ป่วย ตลอดจนถึงการได้รับคำแนะนำจากแพทย์
ซึ่งผู้ป่วยนั้นอาจจะไม่เชื่อแพทย์อย่างเหมือนเคยในอดีตด้วยการเปิดรับข้อมูลด้านเดียว
แต่ผู้ป่วยนั้นจะมีชุดข้อมูลการป่วยจากโรคอ้วนจากที่ได้รับการรับรู้มา เป็นข้อมูลที่ใช้เปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้พบปะพูดคุยกับแพทย์
แต่ในยุคปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีอาการป่วยและใช้ช่องทางในการเลือกศึกษาทางสื่อออนไลน์ผสมผสานในการให้คำแนะนำของแพทย์
รักษาอาการป่วย ไปด้วย ซึ่งเชื่อว่าการที่ผู้ป่วยศึกษาข้อมูลเหล่านี้แล้วพูดคุยกับแพทย์ด้วยความรู้ความเชื่อเหล่านี้
ก็เป็นปัญหาสำหรับแพทย์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการให้ข้อมูลทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยเช่นกัน
นี่คือหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นจากการรับข้อมูลที่ท่วมท้น (information
overload)
ในด้านทฤษฎีของ Paul F.
Lazarsfeld และคณะ ที่เรียกว่า
“ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ” (Two – Step flow) ซึ่งได้รู้จักกันอย่างแพร่หลายในแวดวงสื่อสารซึ่งกล่าวถึงการตัดสินใจเชื่อ
ที่มีต่อสื่อ ในการรับรู้ข่าวสารซึ่งจะไม่เชื่อสื่อในทันที หรือ เชื่อมั่นในข้อมูลที่รับเข้ามาในครั้งแรก
แต่จะเชื่อมั่นผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดหรือคนใกล้ตัวเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเชื่อหรือเลือกสิ่งนั้นๆ
ซึ่งความเชื่อไม่ได้เกิดขึ้นในครั้งแรกของการรับสาร แต่เกิดขึ้นในครั้งที่สองของการรับสาร
เรียกว่า “การสื่อสารสองจังหวะ” ซึ่งทฤษฎีนี้ทำให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้รับสารที่มีการรับข้อมูลถึงสองครั้งก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อหรือเลือก
พฤติกรรมนี้ทำให้เห็นถึงการรับข้อมูลข่าวสารที่มีจำนวนมากเพื่อประกอบกับการตัดสินใจเปิดรับสารในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ฉัตร์ชัย วงนกดี,(2558) กล่าวถึง บทสัมภาษณ์ พญ.วิมลรัตน์
วันเพ็ญ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รอง ผอ.ฝ่ายการแพทย์
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ แสดงทัศนะว่า ขณะนี้มีข้อมูลข่าวสาร ข่าวลือ และคำทำนายต่างๆ
เกี่ยวกับเหตุภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย แพร่สะพัดผ่านสื่อต่างๆ จำนวนมาก
โดยเฉพาะทางอินเทอร์เน็ต อาจทำให้ผู้ที่รับหรือติดตามข่าวสารดังกล่าว
เกิดความเข้าใจผิด และเกิดความเครียด วิตกกังวลขึ้นได้
การวิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย
ต้องตรวจสอบจากหลายๆ ที่ และต้องไม่เชื่อในทันที
เพราะไม่มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ชัดเจน โดยผู้รับข้อมูลข่าวสารควรใช้วิจารณญาณ
เชื่อโดยมีพื้นฐานอยู่บนเหตุผล ข้อเท็จจริง ดูความเป็นไปได้ของเหตุการณ์
และรับข่าวสารข้อมูลด้วยความระมัดระวัง มองสถานการณ์ให้รอบด้าน อย่าตื่นตระหนก
โดยต้องวิเคราะห์ให้ดี เพราะข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏนั้น ย่อมมีทั้งข่าวจริง ข่าวลือ
ข่าวปล่อย เราต้องค่อยๆ กลั่นกรอง อย่ารีบร้อน เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความเครียด
และวิตกกังวลมากขึ้น ควรรับข้อมูลจากคนที่เชื่อถือได้ หรืออาจตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อคลายกังวล
ขณะเดียวกันอาจหาความรู้ด้วยตนเอง โดยตรวจสอบข้อมูลหลายๆด้าน
ก็จะไม่ตื่นกับข่าวลือ ส่วนกรณีของผู้ที่จะเผยแพร่ข้อมูลต่อน้ัน
จำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจให้มาก ต้องคำนึงถึงความถูกต้องของเนื้อหา และต้องคำนึงด้วยว่าข้อมูลที่จะส่งต่อไปนั้นเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือไม่
เพื่อป้องกันความตื่นตระหนกของประชาชน
สำหรับผู้ที่มีความเครียดจากการรับข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
อาจมีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเกิดขึ้น โดยอาการที่สังเกตพบ ได้แก่ นอนไม่หลับ
วิตกกังวล แสดงว่ากำลังเกิดความเครียด ดังนั้นขอให้เลิกดูข่าวสารนั้นๆ
แล้วออกมาทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง เช่น การออกกำลังกาย
ซึ่งในบางรายอาจมีอาการกำเริบของโรคทางกายต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไมเกรน
เป็นต้น โดยผู้ที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ
ความดันโลหิตสูง จะทำให้เกิดภาวะหัวใจทำงานหนัก เสี่ยงหัวใจวาย อาการแย่ลงได้
สำหรับแนวทางในการลดความเครียดและคลายความวิตกกังวลนั้น
ขึ้นอยู่กับแต่ละคน โดยวิธีง่ายๆ อาจเริ่มจากการตั้งสติ และกำหนดลมหายใจ
โดยให้หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกช้าๆ ทำต่อเนื่องกันไปจนรู้สึกผ่อนคลาย
และควรมีเวลานอนหลับอย่างเพียงพอ หรืออาจจะพูดคุยกับคนใกล้ชิด
เพื่อระบายความทุกข์ใจ เป็นต้น จากนั้นวิเคราะห์ดูข้อเท็จจริง
ความเป็นไปได้อย่างละเอียดรอบด้านว่า เหตุการณ์เหล่านี้อยู่ใกล้หรือไกลตัว
เพราะบางครั้งไม่ได้ติดตามข้อมูลอย่างละเอียด กลับตกใจกลัวไปก่อน เช่น
ข่าวกรณีแผ่นดินไหว ซึ่งภาวะแบบต้องนี้ติดตามอย่างมีสติ เตรียมพร้อมตั้งรับ
เพื่อความไม่ประมาท หากเกิดปัญหาขึ้นจริง จะได้รู้ว่าควรทำอะไรก่อนหลัง
เราไม่ควรรับข้อมูลข่าวสารมากเกินไปจนเกิดความเครียด
โดยผู้ที่รับข้อมูลข่าวสารควรใช้วิจารณญาณ
เชื่อโดยมีพื้นฐานอยู่บนเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบแล้ว
ทั้งนี้หากมีปัญหาทุกข์ใจ ไม่สบายใจ สามารถขอรับบริการปรึกษาได้ที่สายด่วน 1323
ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง
หรือขอรับบริการในหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิตได้ทุกแห่งทั่วประเทศในวันและเวลาราชการ
บรรณานุกรม
-
An article in Science magazine
in 1959 about a conference held in June 1958 at Harvard Medical School mentions
that Donald B. Lindsley had given a paper titled "Are there common factors
in sensory deprivation, sensory distortion and sensory overload?" "Meetings,"
in Science, Vol 129, No. 3343, Jan 23, 1959, pp. 221-225.
-
Future Shock, pp. 350-1 (1970
edition)
-
อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล.(2556,กรกฏาคม) บทบรรณาธิการ นิตยสารคิด
-
ฉัตร์ชัย วงนกดี,(2558) เว็ปไซค์ไทยเฮล. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม,2560,จาก
Comments
Post a Comment