สื่อ กับการสื่อสารอัตลักษณ์ Communication and Identity



            อัตลักษณ์ตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ไทย คำว่า Identity คือคำว่า อัตลักษณ์ ซึ่งตรงกับความหมายของคำนี้ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ นั่นก็คือ สิ่งที่เป็นคุณสมบัติของคนหรือสิ่งหนึ่ง และมีนัยขยายต่อไปว่าเป็นคุณสมบัติเฉพาะของคนหรือสิ่งนั้น ที่ทำให้สิ่งนั้นโดดเด่นขึ้นมาหรือแตกต่าง จากสิ่งอื่น แต่ในปัจจุบันความหมายนี้ได้แปรเปลี่ยนไป แนวโน้มทางทฤษฎียุคหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) ทำให้เกิดการตั้งคำถามอย่างมากกับวิธีการมองโลกการเข้าถึง ความจริง ของสิ่งต่าง ๆ

รวมทั้งสิ่งที่เชื่อกันว่าเป็นความจริงที่เป็น แก่นแกน ของปัจเจกบุคคล วิธีคิดในกระแสนี้รื้อถอนความเชื่อ เกี่ยวกับคุณสมบัติแก่นแกนของปัจเจกภาพ ความเป็นปัจเจกกลายเป็นเรื่องของการนิยามความหมายซึ่ง สามารถเลื่อนไหลเปลี่ยนแปลไปตามบริบท อัตลักษณ์เป็นมโนทัศน์ที่คาบเกี่ยวสัมพันธ์กับวิชาหลายแขนง ทางด้านสังคมศาสตร์ ทั้งสังคมวิทยามนุษย์วิทยา จิตวิทยา และปรัชญา อัตลักษณ์มีความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นปริมณฑลเชื่อมต่อระหว่างขั้วทั้งสอง ในด้านหนึ่ง อัตลักษณ์ คือ ความเป็นปัจเจก ที่เชื่อมต่อ และสัมพันธ์กับสังคม(อภิญญา เฟื่องฟูสกุล,2546:1-5) ซึ่งเกี่ยวกับความหมายของอัตลักษณ์นี้ประสิทธิ์ ลีปรีชา(2547: 32-33) ได้กล่าวถึงความหมาย ของอัตลักษณ์ว่า อัตลักษณ์ (Identity) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คือ Identitas เดิมใช้คำว่า Idem ซึ่ง หมายว่าเหมือนกัน (The same) อย่างไรก็ตามโดยพื้นฐานภาษาอังกฤษแล้ว อัตลักษณ์มีความหมายสองนัย ยะด้วยกัน คือ ความหมายเหมือนและความเป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างออกไป นั่นคือการตีความหมาย เหมือนกันบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ และการเปรียบเทียบกันระหว่างคนหรือสิ่งของในสองแง่มุมมอง คือ ความคล้ายคลึงและความแตกต่าง Richard Jenk ( ins, 1996: 3-4, ในประสิทธิ์ ลีปรีชา2547 , : 33) นอกจากนั้นแล้ว Jenkins ยังชี้ให้เห็นว่า อัตลักษณ์มิใช่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวของมันเอง หรือ กำเนิดขึ้นมาพร้อมคน หรือ สิ่งของ แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาและมีลักษณะความเป็นพลวัตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสอดคล้องกับการให้ ความหมายของ Berger and Luckmann (1967: 173) ใน ประสิทธิ์ ลีปรีชา (2547: 33) ที่ว่า อัตลักษณ์ถูก สร้างขึ้นโดยกระบวนการ ทางสังคม ครั้นเมื่อตกผลึกแล้วอาจมีความคงที่ปรับเปลี่ยน หรือแม้กระทั้ง เปลี่ยนแปลง หรือแม้กระทั้งเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นหลักกล่าวโดย อีกนัยหนึ่ง อัตลักษณ์เป็นเรื่องของความเข้าใจและการรับรู้ว่าเราเป็นใครและคนอื่นเป็นใครนั้นคือเป็นการ กอปรขึ้นและดำรงอยู่ว่าเรารับรู้เกี่ยวกับตัวเราเองอย่างไร และคนอื่นรับรู้เราอย่างไรโดยมีกระบวนการทาง สังคมในการสร้างและสืบทอด อัตลักษณ์ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับบริบทของความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีต่อคนหรือ กลุ่มอื่น ๆ ด้วย อัตลักษณ์ (Identity) แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ อัตลักษณ์ระดับปัจเจก(Individual Identity) และอัตลักษณ์ร่วมของกลุ่ม (Collective Identity) ในระดับปัจเจก บุคคลหนึ่งอาจมีหลายอัตลักษณ์อยู่ใน ตัวเอง ในขณะที่อัตลักษณ์ร่วมก่อให้เกิดความสงบอยู่รวมกันของกลุ่มชน และไม่สามารถแยกออกจากการ กระทำหรือละทิ้งสถานภาพของปัจเจกในกลุ่มได้
            ด้วยเหตุที่อัตลักษณ์เป็นลักษณะของตัวตนของกลุ่มคน ซึ่งแสดงออกให้คนกลุ่มอื่นได้รับรู้ ดังนั้นการสื่อสารจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเป็นกระบวนการสำคัญในการบอกเล่าและต่อรองให้อัตลักษณ์นั้นๆ แสดงออกและดำรงอยู่ กล่าวได้ว่าสื่อเป็นทั้งเครื่องมือและถูกใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางในการแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ที่ว่านั้น อัตลักษณ์แต่ละประเภทมีสื่อเฉพาะที่ทำหน้าที่รองรับเป็นคู่ความสัมพันธ์แต่ละคู่ที่รับใช้ซึ่งกันและกันอยู่ดังนี้

สื่อพื้นบ้าน
                        สื่อพื้นบ้านเป็นผลผลิตมาจากสังคมเกษตรกรรม สังคมที่มีพื้นที่เป็นตัวกำหนดเช่นเดียวกับอัตลักษณ์ชาติพันธ์ อาจจะด้วยเหตุที่ร่วมสมัยกันและมีคุณลักษณะที่สอดคล้องกันทำให้สื่อพื้นบ้านจึงเป็นเครื่องมือการแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่เห็นชัดเจนที่สุด ไม่ว่าจะในส่วนของภาษาการแต่งกาย วิถีชีวิต ระบบความคิด ความเชื่อสื่อพื้นบ้านทำหน้าที่สำคัญในการเป็นตัวแทนอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะสื่อพื้นบ้านด้านการแสดงซึ่งมักจะทำหน้าที่อื่นๆประกอบด้วย เช่น สื่อสาร พิธีการ พิธีกรรม รักษาโรคภัย เป็นตัน กล่าวได้ว่าเมื่อเราพูดถึงชาติพันธุ์ใดเราก็จะมีภาพของสื่อพื้นบ้านด้านการแสดงของชาติพันธุ์นั้นๆประกอบด้วยเสมอ เรียกได้ว่า มิติด้าน “ความบันเทิง” ก็เป็นพื้นที่สำคัญในการแสดงออกด้านอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไม่แพ้ด้านอื่นๆ

            สื่อพื้นบ้านจะมีลักษณะแบบสื่อใครสื่อมันบ้านใครบ้านมัน แม้จะเป็นประเภทเดียวกันก็มีความพยายามที่จะแสวงหาลักษณะเฉพาะของตนหรือของคณะตน ลักษณะอันแยกย่อยของสื่อพื้นบ้าน ที่แตกแขนงทางออกลายไปตามท้องถิ่น ตามสายครูหรือตามคณะแสดง สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ที่คลี่คลายและมีตามลักษณะกระจายศูนย์ สื่อพื้นบ้านชนิดเดียวกันจึงไม่ได้จำกัดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่เฉพาะและตายตัวอย่างเข้มงวด หากแต่เลื่อนเปื้อนและคลี่คลายไปตามรายทาง ตามสภาพของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่คลายตัวไปตามระยะห่างของพื้นที่ ย้ำให้เห็นว่ามนุษย์มีความต้องการที่จะแสดงทั้งความเหมือนและความต่าง แสดงทั้งลักษณะที่ร่วมและลักษณะเฉพาะซึ่งสะท้อนภาพความหลากหลาย การผสมผสานลักษระร่วมและลักษณะเฉพาะของอัตลักษณ์ในฐานะที่ต่างก็เป็นวัฒนธรรมย่อยของกันและกัน
            ด้วยเหตุนี้เลื่อนเปื้อนดังที่ว่า ท่าทีที่เจ้าของวัฒนธรรมประเภทเดียวกันมีต่อกัน จึงมักจะเป็นประเด็นเรื่องสื่อของใครเป็นของแท้สังคมจะสนใจเรื่องของของจริงของแท้ มีท่าทีต่อการมองกาลเวลาในแบบย้อนไปข้างหลัง (Retrospect) มองว่าอดีตเรืองรองกว่าปัจจุบัน จารีตเป็นเรื่องที่ต้องสืบทอดและรักษา

            จากมุมมองของชาวบ้านหรือคำนิยมที่เรียกกันว่า “เจ้าของวัฒนธรรม” นั้นกล่าวได้ว่าสื่อพื้นบ้านมีฐานะเป็นตัวแทน เป็นตัวประกาศตัวตนของหมู่ตน เป็นหน้าเป็นตา เป็นเกียรติเป็นศรี เป็นวิถีชีวิตเป็นความภูมิใจ การดำรงอยู่ของความหลากหลายทางศิลปะแต่คือการดำรงอยู่และการแสดงออกของ “ตัวตน” ของผู้เป็นเจ้าของสื่อนั้นๆ การแสดงสื่อพื้นบ้านจึงมักจะกระตุ้นความรักพวกพ้อง ความภาคภูมิใจและสำนึกเรื่องตัวตนของคนกลุ่มนั้น ที่คนต่างกลุ่มยากที่จะเข้าใจคนนอกกลุ่มมองจะเห็นเพียงความแปลกตาในฐานะสิ่งที่ทำให้แปลกใจเท่านั้น  


           
สื่อมวลชน
            สื่อมวลชน (Mass Communication) ปรากฏตัวร่วมกับสังคมอุตสาหกรรม เมื่อคนมาอยู่รวมกันเป็นมวลชน (Mass) ก็มีสื่อมวลชนซึ่งกระโดดข้ามพื้นที่ไปต่อเชื่อมให้คนต่างเผ่าพันธุ์เป็นพวกเดียวกันผ่านการเสพสื่อเดียวกัน เช่น การดำรงอยู่ของละครโทรทัศน์เรื่องหนึ่งย่อมทำให้คนต่างถิ่นฐานมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันผ่านความนิยมชมชอบหรือติดหน้าจอในช่วงเวลาเดียวกัน
            สื่อมวลชนมีคุณลักษณะสำคัญที่การรวมศูนย์ (Centralization) ซึ่งตอบโจทย์ในเรื่องการลดต้นทุนการผลิตและเรื่องการทำกำไร จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่หลากหลายถูกแทนที่ด้วยอัตลักษณ์ประจำชาติ สื่อมวลชนรับใช้ลัทธิชาตินิยม (Nationalism) ที่เกิดจากความพยายามสถาปนาหรือครอบงำวัฒนธรรมที่หลากหลายให้กลายเป็นหนึ่ง
            ภาพลักษณ์ที่ทันสมัยของสื่อมวลชนซึ่งมีกระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ประคองอยู่ ท่าทีต่ออัตลักษณ์ในสื่อมวลชนจะเป็นไปในทางการจัดลำดับ (hierarchy) ระหว่างอัตลักษณ์ใครเข้าถึงศูนย์กลางของสื่อได้มากกว่าก็จะได้ลำดับความสำคัญที่ดีกว่า ก่อให้เกิดการเปรียบเทียบและดูแคลนอัตลักษณ์อื่น เช่น การเอาอัตลักษณ์อื่นมาล้อเลียนมาทำให้กลายเป็นตัวตลกหรือเป็นเรื่องน่าขัน การมองสื่อนี้จึงมักจะเป็นประเด็นเรื่องว่าสื่อนั้นๆ เป็นเครื่องมือของใคร มีเบื้องลึกเบื้องหลังอย่างไร เช่นมีแนวคิดรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) แนวคิดการกำหนดวาระข่าวสาร (Agenda Setting) เข้ามากำกับและมักจะมองไปในประเด็นเรื่องการครอบงำสังคมอิทธิพลต่อสังคมจึงต้องมีประเด็นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมตามมา ซึ่งประเด็นี้แบบนี้ไม่เคยเป็นประเด็นในสื่อพื้นบ้านมาก่อน


สื่อปัจเจกชน

อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่ประกอบคุณสมบัติแบบรวมศูนย์และกระจายศูนย์ไว้ในเวลาเดียวกัน ส่งผลให้พรมแดนเรื่องพื้นที่สาธารณะกับพื้นที่ส่วนตัวกลายเป็นข้อถกเถียงและความลักลั่น ลักษณะหลักของสื่อชนิดนี้คือความเป็น “เครือข่ายที่ซับซ้อนโยงใยถึงกันด้วยความเร็ว” ส่งผลสะเทือนต่อมิติด้านพื้นที่และเวลา กล่าวได้ว่าสื่อชนิดนี้ทำให้มนุษย์เริ่มมีอำนาจเหนือพื้นที่และเวลา อยู่เหนือเงื่อนไขข้อกำหนดในเรื่องนี้ อีกทั้งยังท้าทายความเป็น “อมตะ” ที่เป็นอุดมคติที่แสวงหามานาน อินเตอร์เน็ตทำให้ “ทุกเรื่องอยู่ในนี้” และทำให้สืบค้นได้อย่างรวดเร็ว
            ในยุคการสื่อสารไร้สาย อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนในสังคมมากขึ้นทุกขณะ ทุกปียอดผู้ใช้ทะยานพุ่งถีบตัวสูงขึ้นเรื่อยๆในทุกสังคม กลายเป็นดรรชนีชี้วัดความเจริญและความทันสมัยของแต่ละสังคมได้ในทางหนึ่ง
            การสื่อสารออนไลน์ในรูปแบบต่างๆนั้นเป็นสื่อที่มุ่งตอบสนองความต้องการของปัจเจกชนเป็นหลัก เป็นพื้นที่การสื่อสารในโลกไซเบอร์ที่มีความเป็นส่วนตัวควบคู่ไปกับความเป็นมวลชนสื่อชนิดนึ้จึงมีปัญหาในเรื่องการนิยาม การควบคุมการใช้งานบนเงื่อนไขของความเป็นส่วนตัวและความเป็นสาธารณะ อย่างไรก็ดีในภารวมเราอาจมองได้ว่าสื่ออินเตอร์เน็ต เป็นสื่อที่ทำให้คนในสังคมมวลชนมี “ชีวิตส่วนตัว” มากขึ้นและ “ใช้เวลา” กับการอยู่กับสื่อมากกว่าที่เคยมีมาในช่วงใดๆของประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ แซงในทุกสื่อที่เคยมีมาเลยทีเดียว ทำให้ปัจเจกชนสามารถที่จะแยกตัวออกมาใช้สื่อโดยเสรีได้มากขึ้น
            อย่างไรก็ดีด้วยธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีความพยายามที่จะเสาะหาพวก ความพยายามที่จะค้นหา “ความเหมือนกัน” (Commonality) เป็นภารกิจแรกๆ ในการรวมกลุ่ม อินเตอร์เน็ตเข้ามาตอบสนองความเป็นสัตว์สังคมนี้ โดยการพยายามที่จะหาพวก เดียวกันผ่านโลกออนไลน์ แต่เสรีภาพในการแสวงหาพวกได้มีอำนาจเหนือกายภาพและพรมแดนด้านพื้นที่และเวลา การแสวงหาตัวตนหรืออัตลักษณ์ภายในซึ่งเป็นเรื่อง รสนิยม สุนทรียภาพและจิตวิญญาณจึงพัฒนาได้ชัดขึ้น ความคิดเรื่อง Soul Mate มาแรงในช่วงของการกำเนิดของสื่อนี้
            ในด้านความสัมพันธ์ของบริบทนั้นพบว่าสื่อชนิดนี้ปรากฏตัวในช่วงเวลาเดียวกันกับการปรากฏวิถีชีวิตแบบ “เหนือกาลเวลา” หรือไม่มีกาลเวลาเป็นตัวกำหนดกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งพบได้ในโลกของการผลิต เช่นการทำงานในโลกสมัยใหม่ที่ไม่มีข้อกำหนดเรื่องวันเวลา การใช้ชีวิตบริโภคสินค้า เช่นกรณี เซเว่นอีเลฟเว่น การศึกษาออนไลน์ การศึกษาทางไกล การศึกษาด้วยตนเอง แม้แต่ในด้านการเมืองก็อาจจะตั้งสมมติฐานได้ว่าสื่อที่สนับสนุนความเป็นปัจเจกบุคคลนี้น่าจะไปกันได้ดีกับการปกครองที่มองว่าทุกคนมีสิทธ์มีเสียงเท่ากัน มีความเสมอภาคกันอย่างประชาธิปไตยในแบบที่เป็นประชาธิปไตยในอุดมคติ

            สื่อชนิดนี้ได้รื้อถอนบุคลิกภาพทางสังคมของมนุษย์ดังที่พบได้ในหลายกรณีว่าเยาวชนที่เติบโตมากกับการใช้สื่อนี้จะไม่มีค่อยมีทักษะทางสังคมในชีวิตจริง ไม่มีชีวิตชีวาในโลกทางสังคมแต่จะโลดแล่นหลากลีลาเมื่ออยู่ในโลกออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีการตั้งคำถามเรื่องราวรับรู้ความรุนแรงการถ่ายโอนความคุ้นชินในโลกประกอบไปสร้างออนไลน์กับโลกความจริง พรมแดนที่แบ่งกั้นระหว่างการแยกแยะทั้งสอง ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นทางกฎหมายและจริยธรรม อีกนานัปการที่สังคมพยายามตั้งคำถามและสังเกต


บรรณานุกรม


เธียรชัย  อิศรเดช (2552) อัตลักษณ์กับสื่อ : ตัวตนการสื่อสาร : นิเทศศาสตรปริทัศน์  ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มหาวิทยาลัยรังสิต

Comments

Popular posts from this blog

ทฤษฎีภาวะผู้นำ ​Leadership Theory

Spiral of Silence Theory

Information Overload (คนไทยกับสภาวะ ข้อมูลที่ท่วมท้น)